วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

1.สื่อการสอน
1.1 ความหมายของสื่อการสอนนักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
  • ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
  • บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
  • เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
  • ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า
    สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว
    สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไปโสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
    ความสำคัญของสื่อการสอน
  • ไชยยศ เรืองสุวรรณ กล่าวว่า ปัญหาอย่างหนึ่งในการสอนก็คือ แนวทางการตัดสินใจจัดดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้นตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสอนโดยทั่วไป ครูมักมีบทบาทในการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาสาระ หรือทักษะและมีบทบาทในการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนแต่ละคนด้วยว่า ผู้เรียนมีความต้องการอย่างไร ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพื่อสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนได้ตามจุดมุ่งหมาย สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทั้งมวลที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้น ก็คือ การเรียนการสอนนั่นเอง
  • เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
    1.สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
    2.สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
    3.เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
    4.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
    5.ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน
  • เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
    1.ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
    2.ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
    3.ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
    4.ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
    5.ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
    6.ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
    · ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
    · ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
    · ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
    · ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
    · ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
    · นำอดีตมาศึกษาได้
    · นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
    7.ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้นเมื่อทราบความสำคัญของสื่อการสอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการก็คือ ประเภท หรือชนิดของสื่อการสอน ดังจะกล่าวต่อไปดังนี้
    http://www.nitessatun.com/modules.php?

1.2 ประเภทของสื่อการสอน

  • เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้นดังแผนภาพต่อไปนี้
  • โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
    1.วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
    2.วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
    3.โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

  • ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้


ก.ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1.ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
I. ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
i. ภาพเขียน (Drawing)
ii. ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
iii. ภาพตัด (Cut-out Pictures)
iv. สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
v. ภาพถ่าย (Photographs)
II.ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
i. สไลด์ (Slides)
ii. ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
iii. ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
iv. ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
v. ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
vi. ภาพยนตร์ (Video Tape)
2.ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
I. แผนภูมิ (Charts)
II. กราฟ (Graphs)
III. แผนภาพ (Diagrams)
IV. โปสเตอร์ (Posters)
V. การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
VI. รูปสเก็ช (Sketches)
VII. แผนที่ (Maps)
VIII. ลูกโลก (Globe)

3.ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
I. กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
II. กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
III. กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
IV. กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
V. กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4.ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มี
I. หุ่นจำลอง (Models)
II. ของตัวอย่าง (Specimens)
III. ของจริง (Objects)
IV. ของล้อแบบ (Mock-Ups)
V. นิทรรศการ (Exhibits)
VI. ไดออรามา (Diorama)
VII. กระบะทราย (Sand Tables)
5.ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)

I. แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
II. เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
III. รายการวิทยุ (Radio Program)
6.ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
I. การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
II. การสาธิต (Demonstrations)
III. การทดลอง (Experiments)
IV. การแสดงแบบละคร (Drama)
V. การแสดงบทบาท (Role Playing)
VI. การแสดงหุ่น (Pupetry)
ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
1.เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
2.เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
3.เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4.เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5.เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
6.เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
7.เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
8.เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
9.เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
10.จอฉายภาพ (Screen)
11.เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
12.เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
13.อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆhttp://gotoknow.org/blog/Ok17081984/52408

1.3 การออกแบบสื่อ



องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา
หลักการออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก


ก่อนที่จะทำงานออกแบบกราฟิกประเภทใดก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนของงาน เพราะช่องทาง รูปแบบและวิธีการ ของการนำเสนอมีมาก มีความรวดเร็ว ไร้ขอบเขต เช่นใน เว็ปไซต์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ ซึ่งต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความสับสน ยุ่งยากในการดำเนินงาน มีผลกระทบต่อการทำงาน เกิดความไม่เป็นระบบ มีการสูญเสียและสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรมีหลักการและข้อควรคำนึงก่อนการเริ่มงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง รัดกุมและวางแผนการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตลอดจนจบกระบวนการ ไม่มีปัญหาและอุปสรรค

หลักการดำเนินงานออกแบบกราฟิกหลักการดำเนินงานและการวางแผน

ขั้นต้นของการออกแบบกราฟฟิกมีดังนี้วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ผู้ออกแบบต้องรู้ว่า จะบอกกล่าว เรื่องราวข่าวสารอะไรแก่ผู้รับรู้บ้าง เช่น ทฤษฎีหรือหลักการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องรู้วิธีการนำเสนอ (Presentation) ที่ดีและเหมาะสมกับเรื่องราวเหล่านั้นว่ามีเป้าหมายของการออกแบบเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อแนะนำ เผยแพร่ เพื่อให้ความรู้ หรือความบันเทิงเป็นต้น
กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แบ่งเป็นเพศ ชาย หญิง ่หรือบุคคลทั่วไป มีช่วงอายุเท่าใด นิสิตนักศึกษาหรือเฉพาะกลุ่มสนใจ ข่าวสารที่ให้มีระดับความยาก-ง่าย หรือมีความเป็นสากลหรือไม่ เฉพาะคนในประเทศหรือชาวต่างชาติ ซึ่งผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อวางแผน ดำเนินการกับข่าวสาร ออกแบบ และการนำเสนอให้ตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ถูกต้องสิ่งที่ต้องการบอกคืออะไร หมายถึง วิธีการที่จะสื่อความหมายกับผู้รับรู้หรือกลุ่มเป้าหมาย และถ้าที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ล่วงหน้า ชัดเจนแล้วก็จะทำให้ผู้ออกแบบมีความสะดวกในการที่จะบอกหรือสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น เช่น การเลือกใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพประกอบต่าง ๆสื่อแทนคำศัพท์ ข้อความที่เป็นนามธรรม ได้ตรงตามระดับความสามารถในการรับรู้ของผู้รับ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของข่าวสารนั้น ๆ จำได้ในเวลาอันรวดเร็วและจดจำไว้ตลอดไป


นำเสนอข่าวสารด้วยสื่อใด แบบใด ผู้ออกแบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของสื่อ ศักยภาพของสื่อชนิดต่างๆ คำนึงถึงการเลือกใช้สื่อในการนำเสนอข่าวสารเป็นรูปแบบใด จึงจะได้ผลดีมีความเหมาะสมกับข่าวสาร และผู้ออกแบบควรจะใช้วิธีการจัดการกับข่าวสารนั้น อย่างไร จึงจะสามารถโน้มน้าวจิตใจและสื่อความหมายต่อผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯการออกแบบกราฟิก ส่วนใหญ่เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงการสื่อความหมายในลักษณะของตัวอักษรและภาพในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางทัศนสัญลักษณ์ (Visual form) ดังนั้นในการออกแบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยว การมองเห็นและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง


ปัจจุบันวัสดุและเครื่องมือในงานกราฟิก มีการพัฒนาและปรับใช้กับคอมพิวเตอร์มากขึ้น และคอมพิวเตอร์ในหลายโปรแกรม โดยเฉพาะโปรแกรมด้านกราฟิก ก็จะมีแถบเครื่องมือมาให้เลือกใช้ เหมือนกับวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ต้องทำด้วยมือ เช่น มีดินสอ ปากกา พู่กัน สีสเปรย์เหมือนปากกาลม เปลี่ยนขนาดความโตได้หลายขนาด มีถังเทสี เป็นต้นhttp://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/graphic_material/graphic_mate
1.4 การใช้สื่อการเรียนการสอน

หลักในการใช้สื่อในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้

1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความ
สามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่




10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ประโยชน์ของสื่อ
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน

การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

องค์ประกอบของการออกแบบ
1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ (Select , Modify , or Design Materials )

การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ คือ

1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์
2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่

การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร
2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่

http://www.lpru.ac.th/webpage_tec/webpageDuangchan/travel/knoekedg/page5.htm

การใช้สื่อการสอนนับว่ามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะถ้าใช้สื่อการสอนไม่ถูกต้องย่อมจะได้ผลน้อยหรือมีค่าเท่ากับไม่ได้ใช้เลยหากเป็นดังนี้ย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ฉะนั้นการใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน และวางแผนการใช้อย่างรอบครอบการใช้สื่อการสอนในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรปฏิบัติตามหลักการดังนี้ คือ

1. หลักการเลือก ( Selection)
2. หลักการเตรียม ( Preparation)
3. หลักการนำเสนอ ( Presentation )
4. หลักการประเมินผล ( Evaluation )

  • มีนักวิชาการและนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้ง ต่างประเทศและในประเทศ ได้ให้หลักการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) หลักการเลือก (Selection)

  • โนเอล และลีโอนาร์ด (Noel and Leonard. 1962 :26–28 ) ให้หลักการเลือกสื่อการสอนไว้ ดังนี้
    1. มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน
    2. เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
    3. เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
    4. เหมาะสมกับเรื่องที่สอน
    5. มีลักษณะที่น่าสนใจ
    6. ตรงกับจุดประสงค์ในการสอน
    7. ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป
    8. เป็นแบบง่าย ๆ และไม่ซับซ้อนจนเกินไป
    9. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น
    10. ช่วยให้การเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน
    11. ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน
    12. ให้ผลดีต่อการเรียนการสอนมากที่สุด
    13. ราคาไม่แพงจนเกินไป

  • เดล (Dale. 1969 : 175 – 179 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้

    1. สื่อการสอนนั้นจะสามารถให้แนวคิดที่ถูกต้องได้เพียงใด
    2. สื่อการสอนนั้นจะสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่เรียนได้ดี เพียงใด
    3. สื่อการสอนนั้น ๆ เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ต่าง ๆของผู้เรียนเพียงใด
    4. สภาพแวดล้อมเหมาะที่จะใช้สื่อการสอนนั้น ๆ หรือไม่
    5. มีข้อเสนอแนะสั้น ๆ ในการใช้สื่อการสอนนั้นสำหรับครูหรือไม่
    6. สื่อการสอนนั้นสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านความคิดได้หรือไม่

  • อีริคสัน (Erickson. 1971 : 97– 99) แนะนำว่าครูควรเลือกสื่อการสอนโดยพิจารณาจากคำถามต่อไปนี้
    1.สื่อการสอนนั้นเป็นประโยชน์ต่อหน่วยการสอน และเป็นกิจกรรมในการแก้ปัญหาประสบการณ์เฉพาะหรือไม่
    2.เนื้อหาที่ต้องใช้สื่อการสอนในการสื่อความหมายนั้นเป็นประโยชน์และสำคัญต่อผู้เรียน ชุมชน และสังคมหรือไม่
    3.สื่อการสอนนั้นเหมาะกับจุดประสงค์การสอนหรือเป้าหมายของผู้เรียนหรือไม่
    4.มีการตรวจสอบระดับความยากของจุดประสงค์การสอนเกี่ยวกับความเข้าใจความสามารถ เจตคติ และความนิยม
    5.สื่อการสอนนั้นให้ความสำคัญต่อประสบการณ์จากการคิด การโต้ตอบ การอภิปรายและการศึกษา
    6.เนื้อหาที่สอนในรูปของปัญหา และกิจกรรมของผู้เรียนหรือไม่
    7.สื่อการสอนนั้นให้แนวคิดที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
    8.สื่อการสอนนั้นให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับขนาด อุณหภูมิ น้ำหนัก ระยะทางการกระทำ กลิ่น เสียง สี ความมีชีวิตชีวา อารมณ์หรือไม่
    9.สื่อการสอนนั้นให้ความแน่นอนและทันสมัยหรือไม่
    10.สื่อการสอนนั้นปรับให้เข้ากับจุดประสงค์ที่พึงปรารถนาได้หรือไม่
    11.สื่อการสอนนั้นมีรสนิยมดีหรือไม่
    12.สื่อการสอนนั้นใช้ในห้องเรียนธรรมดาได้หรือไม่
    13.เนื้อหาความรู้ของสื่อการสอนมีตัวอย่างให้มากหรือไม่

  • ลัดดา ศุขปรีดี (2523 : 61-62) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อการสอนและประสบการณ์ในการเรียนการสอนไว้ดังนี้
    1.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
    2.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
    3.เลือกสื่อและประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคน
    4.เลือกสื่อและอุปกรณ์พิเศษที่จะหาได้การเลือกสื่อจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสื่อการสอนนั้นมาใช้และไม่จำเป็นต้องใช้สื่อการสอนที่มีราคาแพงเสมอไป

  • วาสนา ชาวหา (2522 : 64) ได้เสนอแนวคิดในการเลือกใช้สื่อการสอไว้ดังนี้
    1. ให้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
    2. เหมาะสมกับวัย กิจกรรมหรือประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอน
    3. เหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน
    4. คำนึงความประหยัดและให้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งในด้านเงินทุนและเวลาที่เสียไป
    5. ใช้ได้สะดวกและปลอดภัย
  • ลัดดา ศุขปรีดี (2523 : 61-62) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อการสอนและประสบการณ์ในการเรียนการสอนไว้ดังนี้

    1.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
    2.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
    3.เลือกสื่อและประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคน
    4.เลือกสื่อและอุปกรณ์พิเศษที่จะหาได้การเลือกสื่อจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสื่อการสอนนั้นมาใช้และไม่จำเป็นต้องใช้สื่อการสอนที่มีราคาแพงเสมอไป


  • ไชยยศ เรืองสุวรรณ(2526:157)กล่าวว่าการเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะหากครูเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสมเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นอาจไม่บรรลุสำเร็จตามจุดมุ่งหมายควรเลือกสื่อการสอนโดยยึดหลัก ดังนี้

    1. สื่อต้องสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่จะสอน
    2. สื่อที่ต้องเหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
    3. เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียน
    4. เนื้อหาและวิธีใช้ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนจนเกินไป
    5. น่าสนใจและทันสมัย
    6. เนื้อหามีความถูกต้อง
    7. เทคนิคการผลิตดี เช่น ขนาด สี เสียง ภาพ ความจริง เป็นต้น
    8. เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
    9. สามารถนำเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดี
    10.ถ้ามีสื่อการสอนหลายอย่างในเรื่องเดียวกันให้กำหนดว่าสื่อใดเหมาะสมที่สุดที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้ดีที่สุด ในเวลาอันสั้น
  • สุนันท์ สังข์อ่อง(2526:16–18)ได้กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพครูอาจพิจารณาโดยใช้คำถามต่อไปนี้เป็นแนวทางสื่อที่จะนำมาช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตรหรือไม่

    1. สื่อชนิดนั้นเหมาะสมกับวัยหรือระดับชั้นของผู้เรียนหรือไม่
    2. สื่อชนิดนั้นให้เนื้อหาความรู้ที่ทันเหตุการณ์และเวลาในขณะนั้นหรือไม่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือในเนื้อหาที่เสนอให้แก่ผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
    3. สื่อชนิดนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดและสืบเสาะหาความรู้ได้มากกว่าที่จะไม่ใช้สื่อการสอนหรือไม่
    4. สื่อชนิดนั้นช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มใหญ่หรือรายบุคคลหรือไม่
    5. ระยะเวลาในการเลือกสื่อการสอนนั้นเหมาะสมหรือไม่
    6. สื่อชนิดนั้นเป็นที่น่าสนใจในด้านเทคนิคการผลิตหรือไม่ เช่น ลักษณะการจัดภาพเสียง ขนาด รูปแบบของการเสนอ เป็นต้น
    7. คุ้มกับเวลาการลงทุนหรือไม่ ถ้าจำแนกสื่อนั้นมาใช้
    8. สื่อชนิดนั้นเป็นที่ดึงดูดใจและน่าสนใจหรือไม่
    9. สื่อนั้นช่วยเสนอแนะกิจกรรมอื่น ๆ ที่ผู้เรียนอาจปฏิบัติเพิ่มเติมได้หรือไม่

  • หลักการเตรียม (Preparation)
  • อีริคสันและเคิร์ล(EricksonandCurl.1972:163–170)ได้กล่าวถึงการเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนก่อนดังนี้
    1. พัฒนาการสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ตอนไหน อย่างไร
    2. แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา
    3. สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน
    4. เลือกหาวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้น ๆ
    5. ใช้แหล่งการเรียนอื่น ๆ เพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนนอกจากนั้นยังต้องเตรียมและควบคุมเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและจัดสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนการใช้สื่อการสอนนั้นคุ้มค่ากับเวลา และทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
    ครูควรมีความสามารถและทักษะพื้นฐานดังนี้ 1. สามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาได้
    2. สามารถป้องกันและแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องมือต่าง ๆ ได้
    3. สามารถจัดสภาพห้องเรียนได้ดี ถ้าเป็นการฉายก็สามารถจัดสภาพฉายได้ดี
    4. สามารถติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ ได้
    5. ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สะดวกต่อการใช้และการติดตามและเปิดโอกาสผู้เรียนได้เข้ามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี
    6. สามารถวางแผนกำหนดช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม
  • บราวน์ และคณะ (Brown and others. 1983 : 69–70) ได้กล่าวถึงการเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนดังนี้
    1. การเตรียมตัวครู หมายถึง การทดลองใช้สื่อต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปใช้จริงในการเรียนการสอน
    2. การเตรียมสภาพแวดล้อม ได้แก่ การเตรียมวัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ทันที และติดตั้งวัสดุและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
    3. เตรียมชั้นเรียน เป็นการเตรียมผู้เรียนโดยชี้แนะหรือแนะนำผู้เรียนว่า จะเรียนรู้อะไรบ้างจากสื่อ และจะต้องทำอะไรบ้างเมื่อจะใช้สื่อ
  • สันทัด ภิบาลสุข และพิมพ์ใจ ภิบาลสุข (2526 : 4–48) ได้กล่าวถึง การเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนว่า ควรเตรียมผู้สอน ผู้เรียน และชั้นเรียน ดังนี้
    ก. การเตรียมตัวของผู้สอน

1. พิจารณาคุณค่า และจุดมุ่งหมายของบทเรียนที่จะสอน
2. พิจารณาความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
3. พิจารณาถึงสิ่งที่จะเป็นปัญหาในการสอน
4. การเตรียมแผนการสอน
5.จัดหาหรือผลิตสื่อการสอน ซึ่งจะแก้ปัญหาของการเรียนในชั้นเรียนที่ได้พิจารณาเลือกไว้
6. พิจารณาถึงวิธีที่จะใช้สื่อการสอนนั้นให้ได้ผลดีที่สุด
7. เตรียมและทดลองใช้สื่อการสอนก่อนการใช้จริงในห้องเรียน
8.เตรียมอุปกรณ์ หรือสื่อการสอนที่เหมาะสม เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้เรียน เช่นคำบรรยายประกอบการสอน
9. ถ้าจำเป็นต้องมีผู้ช่วยในการฉายหรือบริการอื่น ๆ ควรจะได้มีการซักซ้อมความเข้าใจกันเสียก่อน
10.จัดเรียงลำดับสื่อการสอนที่จะใช้ไว้ตามลำดับก่อนหลังที่ต้องการแล้ววางไว้ในที่เหมาะสม

ข. การเตรียมผู้เรียน

1.อธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าจะใช้สื่ออะไร สอนอะไร เพื่ออะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
2.อธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าจะต้องมีส่วนร่วมในระหว่างการใช้สื่อการสอนอย่างไรบ้างเช่นคอยสังเกตหรือฟังตรงที่สำคัญการหาคำตอบหรือคำศัพท์ใหม่ซึ่งผู้สอนบอกหรือเขียนเอาไว้ล่วงหน้า
3.อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจว่ากิจกรรมที่ต้องปฏิบัติหลังจากการใช้สื่อการสอนแล้วมีอะไรบ้าง
ค. เตรียมชั้นเรียน
1. เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะต้องใช้ร่วมกับสื่อการสอนที่เลือกไว้ เช่น สายไฟ หม้อแปลง แผงติดภาพ ฯลฯ
2. ตรวจสภาพของห้องที่ใช้สื่อการสอนล่วงหน้า การจัดที่นั่ง การตั้งจอและเครื่องฉายที่จ่ายกระแสไฟฟ้า ระยะทางผู้ดูกับจอ การควบคุมแสงสว่างในห้อง ฯลฯ
3. เตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น เครื่องฉาย เครื่องบันทึกเสียง โต๊ะจอฉาย ปลั๊กไฟ และหลอดสำรองสำหรับเครื่องฉาย
4. จัดบรรยากาศของห้องให้สะดวกสบาย เช่น การถ่ายเทอากาศ การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมแสงสว่าง และอื่น ๆ

  • ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 158–160 ) กล่าวว่าการเตรียมเป็นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่งในการใช้สื่อการสอน การเตรียมเป็นการสร้างความพร้อมไม่ว่าจะเป็นตัวครู ผู้เรียนและสื่อการเรียนการสอน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ดังนั้น ครูควรมีความรู้ ความสามารถและทักษะ ในเรื่องต่อไปนี้
    1. ความรู้ความสามารถและทักษะในด้านเทคโนโลยีทางการสอน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ
    1.1 มีทักษะในการเลือกสื่อที่จำเป็นมาใช้ในการเรียนการสอน
    1.2 มีทักษะในการตัดสินใจว่า บทเรียนใดควรใช้สื่ออะไร
    1.3 มีทักษะในการใช้สื่อการเรียนการสอน
    1.4 สามารถผลิตสื่อการสอนอย่างง่ายได้ เช่น การผนึกภาพ แผนภูมิ ฯลฯ
    2.ความรู้ความสามารถและทักษะในการเตรียมสื่อการสอนในห้องเรียนสามารถประยุกต์วิธีระบบ (Systematic Approach) เข้ามาในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
    2.1 เตรียมการสอน กำหนดชนิดและเวลาการใช้สื่อการเรียนการสอน
    2.2 จัดหาสื่อไว้ล่วงหน้า
    2.3 ทดลองใช้ เช่น ลองฟัง ลองฉายดูก่อนที่จะใช้จริง
    2.4 ศึกษารายละเอียดจากคู่มือของสื่อการสอน ( ถ้ามี )
    2.5จัดเตรียมสื่อการสอนอื่นๆและวัสดุจำเป็นต้องใช้ร่วมกับสื่อการสอนนั้นๆ
    การเตรียมผู้เรียน เป็นการสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนก่อนที่จะลงมือใช้สื่อการสอน ควรปฏิบัติดังนี้
    1. การใช้สื่อการเรียนการสอนบางอย่าง ครูและนักเรียนควรได้กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนร่วมกัน
    2.ช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนจากสื่อการสอนเช่นการยั่วยุให้ผู้เรียนสนใจในสื่อที่นำมาใช้ประกอบการสอนพยายามสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้เข้ากับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของสื่อการสอนที่จะใช้
    3. เตรียมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนให้มากที่สุด การเตรียมสื่อการสอนควรปฏิบัติดังนี้
    3.1 ตรวจสอบสื่อการสอนว่า ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนหรือไม่โดยการทดลองใช้ก่อน
    3.2 จัดลำดับสื่อการสอนให้เหมาะสมและถูกต้อง
    3.3 จับเวลาการทดลองใช้สื่อ เพื่อประมาณเวลาในการใช้จริงได้ถูกต้อง
    3.4 ควรตรวจสอบและเตรียมเครื่องมือให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ทันที
    3.5 จดบันทึกหัวข้อสำคัญจากสื่อ เพื่อจะได้อธิบายเพิ่มเติมให้ผู้เรียนเข้าใจยิ่งขึ้น
    3.6เตรียมอุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นจะต้องใช้ร่วมกับการใช้สื่อนั้นให้พร้อมเช่นขาตั้งแผนภูมิไม้ชี้สายไฟฟ้าหลอดอะไหล่ฯลฯ

การเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยเฉพาะการเตรียมห้องเรียนหรือห้องที่จะใช้สื่อการสอน ควรปฏิบัติดังนี้

1.จัดเก้าอี้ให้เพียงพอ และให้ผู้เรียนมองเห็นและได้ยินเสียงอย่างชัดเจน
2.ตรวจสอบระบบแสงสว่างและการถ่ายเทอากาศในห้องเรียนให้เหมาะสม
3.ขจัดสิ่งรบกวนภายนอกที่จะเบนความสนใจของผู้เรียนให้หันเหไปทางอื่น
4.ควรจัดให้ง่ายต่อการโยกย้ายหรือจัดรูปแบบใหม่หากจำเป็นได้
หลักการนำเสนอ (Presentation)

  • อีริคสัน และเคริ์ล(EricksonandCurl.1972:163–170)ได้กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผลครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะ พื้นฐานดังนี้

1. เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2. ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ
3. ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ
4. จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปัญหา
5. ใช้สื่ออย่างมีลำดับ
6. จัดดำเนินการด้านการจัดสภาพการณ์ต่างๆ ในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้
7. สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น จัดป้ายนิเทศจัดมุมวิชาการ และการศึกษาค้นคว้ารายงานเพิ่มเติม เป็นต้น

  • ไฮนิกส์ โมเลนดา และรัสเซล (heinich. Molenda and Russel. 1985 : 34–35)ได้กล่าวถึงการนำเสนอสื่อการสอนไว้ดังนี้
    1.ผู้สอนต้องวางตัวเป็นธรรมชาติ พยายามหลีกเลี่ยงกิริยาอาการต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม การพูดควรพูดให้ชัดเจน เป็นต้น
    2.ผู้สอนควรยืนในที่ที่ผู้เรียนมองเห็นได้อย่างชัดเจนตลอดเวลาเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจมีการเคลื่อนไหวอย่างพอสมควรมีการสบตากับผู้เรียนและเว้นระยะในการพูดเมื่อจะเริ่มพูดเรื่องใหม่
    3. ทำให้สภาพการเรียนไม่เกิดความเครียด ควรมีการแทรกเรื่องตลกบ้างแต่เรื่องตลกต้องไม่กระทบ กระเทือนกับผู้เรียนหรือเกิดความเสียหายกับผู้เรียน
    4. เสนอสิ่งที่แปลกน่าสนใจ เช่น การสรุปที่แปลกหรือการเสนอภาพที่แปลกประทับใจ
    5. พยายามควบคุมให้ผู้เรียนสนใจตลอดเวลา เช่น สบตากับผู้เรียนอย่างทั่วถึง
    6.การควบคุมภาพและเสียงให้สัมพันธ์กันในกรณีใช้สื่อประเภทที่ต้องฉายเช่นสไลด์ฟิล์มสตริปภาพและเสียงควรสัมพันธ์กันทั้งชนิดที่เป็นการบันทึกเสียงไว้ก่อนหรือการบรรยายการสอน
  • ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 160–162) กล่าวว่า การนำเสนอสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนมีหลักการสำคัญเป็นแนวปฏิบัติดังนี้
    1.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เช่น การชักถาม อภิปราย การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
    2. ตอบและอธิบายข้อซักถามของผู้เรียน ชี้แนะสาระสำคัญ ขั้นตอนและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะเรียนได้จากสื่อนั้นๆตลอดจนแนะนำการเรียนรู้จากสื่อ
    3. พยายามสำรวจตัวครูเองอยู่เสมอในระหว่างการใช้สื่อการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นสีหน้า ท่าทาง ในขณะที่สอนดังนี้
    3.1 ในขณะที่พูดหรืออภิปราย ครูควรพูดด้วยใบหน้ายิ้มแย้มเป็นมิตรกับผู้เรียน
    3.2 ใช้สายตาให้เป็นประโยชน์เพราะสายตาของครูจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจติดตามบทเรียน และเป็นการสร้างวินัยในชั้นเรียนทางอ้อม
    3.3 เสียงของครูต้องดังเหมาะสม มีระดับเสียง พูดด้วยความเร็วที่พอเหมาะมีการย้ำหรือเน้นเมื่อถึงตอนสำคัญ
    3.4 ท่าทางและบุคลิกของครูมีอิทธิพลต่อความเชื่อ ความมั่นใจและความประทับใจต่อผู้เรียนมาก ไม่ควรมองข้ามในเรื่องนี้
    3.5 การแสดง พยายามแสดงให้มากอย่างนักแสดงที่ดี พูดให้น้อยอย่างคล่องแคล่วไม่ลุกลี้ลุกลน
    3.6 ปฏิบัติตนในการสอนอย่างสม่ำเสมอ เช่น เข้าสอนตรงต่อเวลาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ ท่าทางสง่างาม
    3.7 แสดงท่าทางให้ความสนใจและความสำคัญต่อผู้เรียนด้วยความจริงใจและ
    4. ใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีขั้นตอน สอดคล้องกับจังหวะเวลาและเนื้อหาตามที่ได้เตรียมหรือวางแผนไว้
    http://www.nitessatun.com/modules.php?
1.5 การวัดผลของสื่อและวิธีการ

หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้การติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการสอน

  • โนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้

1. ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์

2. ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ

3. ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน

4. ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้

5. ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

6. ผู้สอนสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้

· ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอน

· ผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น ถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจ

· ไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไป

  • เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร

· ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน

· ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย

· เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน

· สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ

· มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์

· ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์· ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา

· ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำไปhttp://www.lpru.ac.th/webpage_tec/webpageDuangchan/travel/knoekedg/page5.htm

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

การสร้าง blogger


1.การสร้าง blogger เข้าไปที่ http://www.blogger.com/ จะเกิดหน้าต่างขึ้นคลิกที่แถบลูกศรสีส้ม create your blog now
2.เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 1 create account พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
3.เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 2 name your blog พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
4.เกิดหน้าต่าง choose a template เพื่อเลือกลวดลายของหน้าต่างที่เราจะใช้เป็น web page มี 12 ลายให้เลือก เมื่อเลือกได้แล้วก็คลิก continue
5.หลังจากนั้นจะเกิดหน้าต่าง your blog has been created คลิก start postingเพื่อเริ่มสร้าง blog ตอนนี้ก็ถือว่าเสร็จสิ้น การสร้าง blogger แล้ว เพื่อนๆๆสามารถทำได้อย่างง่ายๆ
โดยวิธีตามนี้แล้ว ขอให้สร้าง blog กันได้ทุกคนนะ

การเรียนโปรแกรม Photoshop

การเรียนโปรแกรม Photoshop

***การตัดภาพด้วยเครื่องมือแบบต่างๆ***

การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี

1. การตัดภาพด้วย Magic Wand Tool เครื่องมือนี้จะทำการเลือก
Selection โดยการเลือกเอาส่วนที่เป็นสีแนวเดียวกันไว้ด้วยกัน

เครื่องมือ Magic Wand Tool




เลือกวัตถุในภาพที่มีสีเดียวกัน ในขอบเขตเดียวกัน


สามารถทำการเลือกเพิ่มได้ โดยการกด Shift ค้างไว้


สามารถตัดภาพ โดยดึงออกโดยใช้เครื่องมือ Move Tool


2. ตัดภาพโดยใช้ Lasso Tool เครื่องมือนี้นำมาใช้สำหรับในการเลือกพื้นที่ของภาพทีเราต้องการจะนำไปใช้เครื่องมืออันนี้จะอยู่ในหมวด Lasso
เครื่องมือ Polygonal นี้เป็นเครืองมือที่ 2 การใช้งานคล้ายๆ กับ Lasso

เราลองมาใช้กันดูดีกว่า เครื่องมือนี้อยู่ที่ไหน ?


***ตัวอย่างการใช้งาน***

การเลือกส่วนที่เป็นตาของเป็ด


1.> ให้เราเปิดภาพเป็ดขึ้นมา ดังภาพ

2.> หลังจากนั้นเลือกเครื่องมือ Polygonal Lasso

แล้วใช้เครื่องมือคลิกให้รอบส่วนที่เราต้องการ ดังภาพ


3.> หลังจากนั้นเราก็สามารถนำส่วนที่เราเลือกไปใช้กับงานที่เราต้องการได้


pen tool จะอยู่ในรูปของปากกา


เลือกทำการปรับเปลี่ยนลักษณะเป็น Path


ทำการวาดเส้นรอบวัตถุที่จะทำการเลือกตัด จนได้เป็นเส้นปิด



กด Ctrl + Enter เพื่อสร้าง Selection และ

ใช้ Move Tool ในการตัดเลื่อนวัตถุ


ที่มา: http://gotoknow.org/blog/com


*******************************

***การบันทึกงาน***

- เก็บไฟล์ต้นฉบับไว้เสมอ (.psd เมื่อใช้ PhotoShop) เนื่องจากสามารถแก้ไขงานได้
- เลือกประเภทไฟล์ใช้งานให้เหมาะสม

การบันทึกงานในนามสกุลต่างๆ
1. นามสกุล PSD เนื่องจากสามารถแก้ไขงานได้ แต่ภาพจะมีขนาดใหญ่
2.นามสกุล JPEG แสดงสีมากๆ เป็นภาพที่สมบูรณ์แล้ว ไม่เปลืองพื้นที่ แต่ไม่สามารถแก้ไขได้
3. นามสกุล GIF ภาพที่มีสีน้อย, ต้องการความคมชัดต่ำ ภาพที่ต้องการความคมชัดสูงๆ ภาพเป็นพื้นโปร่งเวลาใช้งานจะไม่ติดพื้น

การเรียนโปรแกรม Power Point

Desktop คือ พื้นโต๊ะเรียนหรือโต๊ะทำงาน ไว้วางวัตถุต่างๆ เช่น Icon ต่างๆIcon คือ สัญลักษณ์ (ที่สามารถเปลี่ยนได้)แต่ symbol เป็นสัญลักษณ์ (ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้)Shortcut คือ ทางลัดการเข้าสู่เมนู Microsoft office และเมนูย่อยต่างๆ มีหลายวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1

1. คลิกซ้ายที่ Start
2. Programs
3. Microsoft office
4. โปรแกรมย่อยต่างๆ

วิธีที่ 2

1. คลิกขวาที่ Start
2. Explore
3. Program files (อยู่ใน C :)
4. Microsoft office
5. OFFICE 11
6. โปรแกรมย่อยต่างๆ

วิธีที่ 3

1. My Computer
2. เลือก C:
3. Program files
4. Program files (อยู่ใน C :)
5. Microsoft office6. OFFICE 11
7. โปรแกรมย่อยต่างๆ

วิธีที่ 4

1. Start
2. Programs
3. Microsoft PowerPoint
4. คลิกขวา
5. Send to
6. Desktop

วิธีที่ 5

1. Start
2. Programs
3. Microsoft shortcut (จะมีถ้าลงโปรแกรมสมบูรณ์)

- การลบกล่องข้อความ ทำได้ โดย Ctrl A+ Delete
- การเพิ่มจำนวนสไลด์ใน Microsoft PowerPoint ทำได้ดังนี้ Ctrl C, V
- การลบสไลด์ ตัวอย่างเช่น 11-60 มีวิธีดังนี้ ลากแถบสีดำตั้งแต่ 11-60 แล้วกด Delete
- การเลือกบางสไลด์ คลิกซ้ายเลือกสไลด์ที่ต้องการลบ แล้วกด Ctrl คลิกซ้ายเลือก แล้วกด Delete

Lettering Design (ตัวอักษรหัวเรื่อง)

1.เส้นตรง ใช้กับเนื้อหาที่แสดงความมั่นคง แข็งแรง บึกบึน มีอำนาจ
2.เส้นโค้ง ใช้กับเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก นุ่มนวล อ่อนหวาน
3.เส้นซิกแซก ใช้กับเนื้อหาน่ากลัว ลึกลับ หวาดเสียว ตื่นเต้น
4.เส้นประ ใช้กับเนื้อหาที่แสดงความสงสัย ฉงนสนเทห์

การออกแบบกราฟิก


ความหมาย
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ทำให้เราสามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งอาจเป็นทางตา หู ผิวสัมผัส รส กลิ่นก็ได้

แนวคิด...การออกแบบ
เกิดจากพื้นฐานทางความคิดและทัศนการสื่อสาร(visual commuication)

ความสำคัญ
การออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง สัตว์อื่นๆไม่สามารถออกแบบได้นอกจากการสร้างงานด้วยสัญชาตญาณเท่านั้น มนุษย์มีการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการออกแบบจึงเกิดขึ้นพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และตั้งแต่เกิดจนตาย

เป้าหมาย
1. เพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เพื่อการสร้างสรรค์และแสดงคุณค่าของผลงาน
3. เพื่อการวางแผนในเชิงทรัพยากรหรือการลดต้นทุน
4. เพื่อการประหยัดเวลาในการนำเสนอข่าวสาร
5. เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติของนักออกแบบ
1. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ
2. เข้ากระบวนการใช้งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3. มีวิธีนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น
4. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาการรับรู้ได้อย่างดี

กราฟิก ใช้กับงานอะไรบ้าง
หนังสือ
ป้ายโฆษณา
เว็บไซต์
แผ่นพับ
ภาพยนตร์
โทรทัศน์
บรรจุภัณฑ์
งานตกแต่ง
นิตยสาร
ผลิตภัณฑ์
วารสาร
นิทรรศการ
ใบปลิว

องค์ประกอบของกราฟิก
• ตัวอักษร(typographic)
• สัญลักษณ์(symbol)
• ภาพประกอบ(Illustrator)
• ภาพถ่าย(photography)

ความแตกต่างการออกแบบ
เป็นการใช้กระบวนการคิดแบบจินตนาการ อิสระ และสร้างสรรค์การวางแผน เป็นการใช้ความคิดเป็นขั้นตอน ที่จะนำไปสู่รูปแบบของจินตนาการ

กระบวนการออกแบบ
1. พิจารณาเนื้อหา
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน
4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ 1,2,และ 3

องค์ประกอบ ทัศนศิลป์
เส้น
สี
จุด
รูปร่าง
รูปทรง
พื้นผิว
สี

สี หมายถึง แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา ทำให้มองเห็นวัตถุเหล่านั้นเป็นสีต่างๆตามคุณลักษณะของแสงที่สะท้อน

การมิติใช้ในการออกแบบ
• มิติ..สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
• มิติ..สีกลมกลืน/สีตัดกัน
• มิติ..สีมืด/สีสว่าง

เส้น
เส้น เป็นองค์ประกอบที่มีรูปลักษณะเป็นรอยยาวต่อเนื่องกันหน้าที่สำคัญของเส้น คือ การแสดงทิศทางลักษณะของเส้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเส้นตรงและกลุ่มเส้นไม่ตรง

กลุ่มเส้นตรง

เส้นตรงตั้งฉาก ให้ความรู้สึกมั่นคง สง่า
เส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ราบเรียบ
เส้นตรงเฉียง ให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่แน่

กลุ่มเส้นไม่ตรง

เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน
เส้นตรง ให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง
เส้นซิกแซก ให้ความรู้สึกรุนแรง ไม่ไว้ใจ ตื่นเต้น

พื้นผิว
พื้นผิว เป็นองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกสัมผัสด้านนอกสุดของวัตถุสิ่งของ
พื้นผิวมี 2 มิติ ได้แก่
1. มิติพื้นผิวเรียบ/พื้นผิวขรุขระ
2. มิติพื้นผิวด้าน/พื้นผิวมันวาวการ

ใช้พื้นผิว กับการออกแบบ
1. พื้นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกมีระเบียบ จริงจัง
2. พื้นผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกน่ากลัว ลึกลับ
3. พื้นผิวด้าน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ
4. พื้นผิวมันวาว ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รวดเร็ว

จุด
เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กที่สุดทำหน้าที่สำคัญ คือ การแสดงตำแหน่งการวางจุดตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปเรียงไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้ดูเป็นเส้นแต่ ถ้าวางตำแหน่งไว้ใกล้กันเป็นกลุ่มก้อนจะแลดูเป็นรูปร่างรูปทรงรูปร่าง

รูปร่าง
เป็นลักษณะของพื้นที่ภายในที่ถูกล้อมด้วยเส้นเส้นเดียวที่ลากปลายด้านใดด้านหนึ่งมาบรรจบกันหรือบรรจบช่วงใดช่วงหนึ่งของเส้น ส่วนพื้นที่ด้านนอกของรูปร่างเรียกว่า “พื้น”(ground)รูปร่างมีลักษณะเป็น 2 มิติคือความกว้างกับความยาว รูปร่างที่มีขนาดใหญ่สามารถรองรับองค์ประกอบอื่นได้รูปทรงรูปทรงมีลักษณะเหมือนกับรูปร่าง แต่รูปทรงมี 3 มิติ ได้แก่ ความกว้าง ความยาวและความหนาหรือความลึก

การจัดภาพ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่างๆมาเรียบเรียงหรือจัดวางให้ได้ภาพตามที่ต้องการ การจัดภาพจึงเป็นการออกแบบเพื่อการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรม

หลักการออกแบบ
การออกแบบให้บรรลุวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ 2 ประการ คือ หน้าที่(function) ของชิ้นงาน และความสวยงาม(beauty) ของชิ้นงานความสมดุล หมายถึง ความเท่ากัน เสมอกัน เป็นการออกแบบให้วัตถุนั้นๆสามารถทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1. ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้างเท่ากัน(Symmetrical/Formal Balance)
2. ความสมดุลทั้งสองข้างไม่เท่ากัน(Asymmetrical/Informal or Occult Balance)

ความกลมกลืน หมายถึง การประสานกัน หรือเป็นการรวมหน่วยต่างๆ ของส่วนประกอบของการออกแบบให้ดูแลเหมาะสมกลมกลืนเป็นหน่วยเดียวกัน มีหลักดังต่อไปนี้
1. ความกลมกลืนที่ทำให้เส้นไปในทางเดียวกัน
2. ความกลมกลืนกันคล้ายคลึงกัน หรือเท่ากัน
3. ความกลมกลืนของรูปร่างและรูปทรง
4. ความกลมกลืนของพื้นผิว
5. ความกลมกลืนของสี
6. ความกลมกลืนในด้านความคิด

ความแตกต่าง หรือ การตัดกันหมายถึง การออกแบบที่ไม่ให้เกิดการซ้ำซาก โดยจัดส่วนประกอบของการออกแบบ เช่น มีรูปร่าง พื้นผิว สี แตกต่างกันออกไป มีหลายวิธีดังนี้
1. ความแตกต่างในเรื่องเส้น
2. ความแตกต่างด้วยลักษณะพื้นผิว
3. ความแตกต่างในรูปทรงและลักษณะ

การเน้นให้เกิดจุดเด่น หมายถึง การเน้นทำให้เด่นเฉพาะบางแห่งที่ต้องการให้ชวนดูแปลกตา หรือเป็นจุดสนใจและทำให้เกิดความน่าสนใจหลักการเน้น
1.จะเน้นอะไร
2. จะเน้นอย่างไร
3. จะเน้นมากน้อยแค่ไหน
4. จะเน้นที่ตรงไหน

การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก

การออกแบบสื่อ......
การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

"ลักษณะการออกแบบที่ดี"
(Characteristics of Good Design)

1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

"องค์ประกอบของการออกแบบ "

1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

ประเภทวัสดุกราฟิก

ในหนังสือ Audiovisual Materials ซึ่งเขียนโดย Wittich & Schuller ได้แบ่งประเภทวัสดุกราฟิกไว้ดังนี้

1. แผนสถิติ (Graphs) แบ่งออกเป็น
1.1 แผนสถิติแบบเส้น (Line Graphs)
1.2 แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graphs)
1.3 แผนสถิติแบบวงกลม (Circle or Pie Graphs)
1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graphs)
1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (Area and Solid Figure Graphs)
2. แผนภาพ (Diagrams)
3. แผนภูมิ (Charts)
3.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)
3.2 แผนภูมิแบบสายน้ำ (Stream Charts)
3.3 แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts)
3.4 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts)
3.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparision Charts)
3.6 แผนภูมิแบบตาราง (Tabular Charts)
3.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Experience Charts)
3.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Achivement Charts)
4. ภาพโฆษณา (Posters)
5. การ์ตูน (Cartoon)
6. ภาพวาด (Drawing)
7. ภาพถ่าย (Photography)
8. ภาพพิมพ์ (Printing)
9. สัญลักษณ์ (Symbols)

ตัวอย่างสื่อกราฟิก

ตัวอย่างสื่อกราฟิก
แผนภูมิลำดับเรื่อง ใช้อธิบายเรื่องที่มีรายละเอียดเกี่ยวข้องกัน จัดทำให้แยกแผ่นไว้เป็นลำดับ จากไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย ไปจนถึงที่มีรายละเอียดและซับซ้อนมากขึ้น เช่น แผนภูมิแสดงระบบต่างๆ ในร่างกายคนเรา [ แสดงภาพแผนภูมิลำดับเรื่อง แสดงเครื่องมือช่าง ]

กราฟแท่ง เป็นชนิดที่ดูง่ายกว่ากราฟเส้น มักจะแสดงข้อมูลให้เห็นเป็นช่วงๆ เช่น กราฟแท่งแสดงการเพิ่มของประชากรช่วง 5 ปีที่ผ่านมา [ แสดงภาพกราฟิกแท่งแสดงความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมชนิดต่างๆ ]

แผนภูมิอธิบายภาพ ใช้แสดงและบอกรายละเอียดของส่วนต่างๆ ของเนื้อเรื่อง เช่น อธิบายการแต่งเครื่องแบบของนักเรียน การอธิบายกล้องถ่ายภาพ [ แสดงภาพแผนภูมิอธิบายภาพ ]


แผนที่ map เป็นกราฟิกที่ย่อส่วนจากพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้ผู้ใช้แผนที่มองเห็นอาณาเขตที่ ติดต่อกัน เปรียบเทียบความแตกต่างของพื้นที่ได้ แผนที่บางแผ่นทำให้เห็นสภาพสูงต่ำของพื้นดินได้ [ แสดงภาพแผนที่ ]


ลูกโลก globe เป็นกราฟิกแสดงพื้นที่ของโลกเรา การกำหนดรายละเอียดสามารถทำได้ตามความต้องการ เช่น ลูกโลกขนาดเล็กก็แสดงขอบเขตอย่างหยาบสำหรับผู้เรียนที่เริ่มเรียนรู้ [ แสดงภาพลูกโลก 1] [ แสดงภาพลูกโลก 2] ที่มาของภาพ : av instruction 1973

การใช้สี (color)

คิดก่อนว่า อยากให้รูปภาพที่วาดออกสีโทนร้อนหรือโทนเย็น
สีโทนเย็น แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มที่1 เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่
2. กลุ่มที่2 น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน
3. กลุ่มที่3 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่
4. กลุ่มที่4 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน เหลือง

สีโทนร้อน แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่1 เหลือง ส้ม แดง
2. กลุ่มที่2 ส้ม แดง น้ำตาล
3. กลุ่มที่3 แดง น้ำตาล ดำ
4. กลุ่มที่4 เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล ดำ

วรรณะของสี (Tone Color)
1. สีโทนร้อน (สื่อตื่นเต้น)
2. สีโทนเย็น (สบายตา)

เทคนิกการใช้สี
1. สีกลมกลืน
2. สีตัดกัน

ทฤษฎีสี
1. ทฤษฎีใกล้กันกมกลืนกัน (ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน ราบรื่นเป็นพวกเดียวกัน)
2. สีตัดกัน ทฤษฎีห่างกันตัดกัน (งานดูตื่นเต้น ตระหนก รุนแรงหวาดเสียว ไม่เข้ากัน)
3. Hue + White = Tint คือ สีแท้ + สีขาว ใช้ในกรณีที่ต้องการให้งานชิ้นนั้นดูสบายตานุ่มนวล กว้างขวาง และเป็นกันเอง
4. Hue + Black = Shade คือ สีแท้ + สีดำ ใช้ในกรณีที่ต้องการทำให้ชิ้นงานนั้นดูลึกลับน่ากลัว หนักแน่น แคบ

สื่อวัสดุกราฟิก " สีไม้ "

สื่อวัสดุกราฟิก " สีไม้ "

เรื่อง " Differences"

Find the Differents Games.Work with a partner.
One of you is Student A, and the other is Student B.

Student A : Cover picture B
Student B : Cover picture A

Describe your picture to your partner. Try to find the differents. Make a list. Try to find 10 differents.

For examples,

A
1.There is a woman to take a bath.
2.There is a cat on the bed.
3.……………………………………………...................
4…………………………………………......................
5………………………………………….....................
6……………………………………………..................
7……………………………………………..................
8……………………………………………..................
9……………………………………………..................
10……………………………………………...............

B
1.There is a man to take a shower.
2.There is a man on the bed.
3………………………………………………............
4………………………………………………............
5………………………………………………............
6………………………………………………............
7………………………………………………............
8………………………………………………...........
9………………………………………………...........
10……………………………………………............


GrammarQuestion with : What

What are you doing?
What is he / she doing ?
What are you / they doing ?

I am studying now.
He / She is studying now.
We / They are studying now.

Exercise : Work with a partner.Ask and Answer about the picture.

For examples,

A
1.What is she doing in Picture 1 ?
-She is taking a bath.
2……………………………………………………
-...................................................
3…………………………………………….......
-..................................................
4……………………………………………………
-..................................................
5……………………………………………………
-..................................................
6……………………………………………………
-..................................................

B
1.What is he doing in Picture 2 ?
-He is taking a shower.
2………………………………………………………
-.....................................................
3………………………………………………………
-....................................................
4………………………………………………………
-.....................................................
5………………………………………………………
-.....................................................
6……………………………………….....…………
-.....................................................

เจ้าของผลงาน

เจ้าของผลงาน
มัยคิดว่าคนที่เข้ามาเยี่ยมชมใน Blog คงจะได้รับความรู้อย่างที่มัยเคยได้รับจากการเรียนวิชานี้เหมือนกันนะคะ