วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

1.3 การออกแบบสื่อ



องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา
หลักการออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก


ก่อนที่จะทำงานออกแบบกราฟิกประเภทใดก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนของงาน เพราะช่องทาง รูปแบบและวิธีการ ของการนำเสนอมีมาก มีความรวดเร็ว ไร้ขอบเขต เช่นใน เว็ปไซต์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ ซึ่งต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความสับสน ยุ่งยากในการดำเนินงาน มีผลกระทบต่อการทำงาน เกิดความไม่เป็นระบบ มีการสูญเสียและสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรมีหลักการและข้อควรคำนึงก่อนการเริ่มงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง รัดกุมและวางแผนการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตลอดจนจบกระบวนการ ไม่มีปัญหาและอุปสรรค

หลักการดำเนินงานออกแบบกราฟิกหลักการดำเนินงานและการวางแผน

ขั้นต้นของการออกแบบกราฟฟิกมีดังนี้วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ผู้ออกแบบต้องรู้ว่า จะบอกกล่าว เรื่องราวข่าวสารอะไรแก่ผู้รับรู้บ้าง เช่น ทฤษฎีหรือหลักการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องรู้วิธีการนำเสนอ (Presentation) ที่ดีและเหมาะสมกับเรื่องราวเหล่านั้นว่ามีเป้าหมายของการออกแบบเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อแนะนำ เผยแพร่ เพื่อให้ความรู้ หรือความบันเทิงเป็นต้น
กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แบ่งเป็นเพศ ชาย หญิง ่หรือบุคคลทั่วไป มีช่วงอายุเท่าใด นิสิตนักศึกษาหรือเฉพาะกลุ่มสนใจ ข่าวสารที่ให้มีระดับความยาก-ง่าย หรือมีความเป็นสากลหรือไม่ เฉพาะคนในประเทศหรือชาวต่างชาติ ซึ่งผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อวางแผน ดำเนินการกับข่าวสาร ออกแบบ และการนำเสนอให้ตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ถูกต้องสิ่งที่ต้องการบอกคืออะไร หมายถึง วิธีการที่จะสื่อความหมายกับผู้รับรู้หรือกลุ่มเป้าหมาย และถ้าที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ล่วงหน้า ชัดเจนแล้วก็จะทำให้ผู้ออกแบบมีความสะดวกในการที่จะบอกหรือสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น เช่น การเลือกใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพประกอบต่าง ๆสื่อแทนคำศัพท์ ข้อความที่เป็นนามธรรม ได้ตรงตามระดับความสามารถในการรับรู้ของผู้รับ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของข่าวสารนั้น ๆ จำได้ในเวลาอันรวดเร็วและจดจำไว้ตลอดไป


นำเสนอข่าวสารด้วยสื่อใด แบบใด ผู้ออกแบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของสื่อ ศักยภาพของสื่อชนิดต่างๆ คำนึงถึงการเลือกใช้สื่อในการนำเสนอข่าวสารเป็นรูปแบบใด จึงจะได้ผลดีมีความเหมาะสมกับข่าวสาร และผู้ออกแบบควรจะใช้วิธีการจัดการกับข่าวสารนั้น อย่างไร จึงจะสามารถโน้มน้าวจิตใจและสื่อความหมายต่อผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯการออกแบบกราฟิก ส่วนใหญ่เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงการสื่อความหมายในลักษณะของตัวอักษรและภาพในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางทัศนสัญลักษณ์ (Visual form) ดังนั้นในการออกแบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยว การมองเห็นและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง


ปัจจุบันวัสดุและเครื่องมือในงานกราฟิก มีการพัฒนาและปรับใช้กับคอมพิวเตอร์มากขึ้น และคอมพิวเตอร์ในหลายโปรแกรม โดยเฉพาะโปรแกรมด้านกราฟิก ก็จะมีแถบเครื่องมือมาให้เลือกใช้ เหมือนกับวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ต้องทำด้วยมือ เช่น มีดินสอ ปากกา พู่กัน สีสเปรย์เหมือนปากกาลม เปลี่ยนขนาดความโตได้หลายขนาด มีถังเทสี เป็นต้นhttp://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/graphic_material/graphic_mate

ไม่มีความคิดเห็น:

***การบันทึกงาน***

- เก็บไฟล์ต้นฉบับไว้เสมอ (.psd เมื่อใช้ PhotoShop) เนื่องจากสามารถแก้ไขงานได้
- เลือกประเภทไฟล์ใช้งานให้เหมาะสม

การบันทึกงานในนามสกุลต่างๆ
1. นามสกุล PSD เนื่องจากสามารถแก้ไขงานได้ แต่ภาพจะมีขนาดใหญ่
2.นามสกุล JPEG แสดงสีมากๆ เป็นภาพที่สมบูรณ์แล้ว ไม่เปลืองพื้นที่ แต่ไม่สามารถแก้ไขได้
3. นามสกุล GIF ภาพที่มีสีน้อย, ต้องการความคมชัดต่ำ ภาพที่ต้องการความคมชัดสูงๆ ภาพเป็นพื้นโปร่งเวลาใช้งานจะไม่ติดพื้น

การเรียนโปรแกรม Power Point

Desktop คือ พื้นโต๊ะเรียนหรือโต๊ะทำงาน ไว้วางวัตถุต่างๆ เช่น Icon ต่างๆIcon คือ สัญลักษณ์ (ที่สามารถเปลี่ยนได้)แต่ symbol เป็นสัญลักษณ์ (ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้)Shortcut คือ ทางลัดการเข้าสู่เมนู Microsoft office และเมนูย่อยต่างๆ มีหลายวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1

1. คลิกซ้ายที่ Start
2. Programs
3. Microsoft office
4. โปรแกรมย่อยต่างๆ

วิธีที่ 2

1. คลิกขวาที่ Start
2. Explore
3. Program files (อยู่ใน C :)
4. Microsoft office
5. OFFICE 11
6. โปรแกรมย่อยต่างๆ

วิธีที่ 3

1. My Computer
2. เลือก C:
3. Program files
4. Program files (อยู่ใน C :)
5. Microsoft office6. OFFICE 11
7. โปรแกรมย่อยต่างๆ

วิธีที่ 4

1. Start
2. Programs
3. Microsoft PowerPoint
4. คลิกขวา
5. Send to
6. Desktop

วิธีที่ 5

1. Start
2. Programs
3. Microsoft shortcut (จะมีถ้าลงโปรแกรมสมบูรณ์)

- การลบกล่องข้อความ ทำได้ โดย Ctrl A+ Delete
- การเพิ่มจำนวนสไลด์ใน Microsoft PowerPoint ทำได้ดังนี้ Ctrl C, V
- การลบสไลด์ ตัวอย่างเช่น 11-60 มีวิธีดังนี้ ลากแถบสีดำตั้งแต่ 11-60 แล้วกด Delete
- การเลือกบางสไลด์ คลิกซ้ายเลือกสไลด์ที่ต้องการลบ แล้วกด Ctrl คลิกซ้ายเลือก แล้วกด Delete

Lettering Design (ตัวอักษรหัวเรื่อง)

1.เส้นตรง ใช้กับเนื้อหาที่แสดงความมั่นคง แข็งแรง บึกบึน มีอำนาจ
2.เส้นโค้ง ใช้กับเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก นุ่มนวล อ่อนหวาน
3.เส้นซิกแซก ใช้กับเนื้อหาน่ากลัว ลึกลับ หวาดเสียว ตื่นเต้น
4.เส้นประ ใช้กับเนื้อหาที่แสดงความสงสัย ฉงนสนเทห์

การออกแบบกราฟิก


ความหมาย
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ทำให้เราสามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งอาจเป็นทางตา หู ผิวสัมผัส รส กลิ่นก็ได้

แนวคิด...การออกแบบ
เกิดจากพื้นฐานทางความคิดและทัศนการสื่อสาร(visual commuication)

ความสำคัญ
การออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง สัตว์อื่นๆไม่สามารถออกแบบได้นอกจากการสร้างงานด้วยสัญชาตญาณเท่านั้น มนุษย์มีการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการออกแบบจึงเกิดขึ้นพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และตั้งแต่เกิดจนตาย

เป้าหมาย
1. เพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เพื่อการสร้างสรรค์และแสดงคุณค่าของผลงาน
3. เพื่อการวางแผนในเชิงทรัพยากรหรือการลดต้นทุน
4. เพื่อการประหยัดเวลาในการนำเสนอข่าวสาร
5. เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติของนักออกแบบ
1. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ
2. เข้ากระบวนการใช้งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3. มีวิธีนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น
4. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาการรับรู้ได้อย่างดี

กราฟิก ใช้กับงานอะไรบ้าง
หนังสือ
ป้ายโฆษณา
เว็บไซต์
แผ่นพับ
ภาพยนตร์
โทรทัศน์
บรรจุภัณฑ์
งานตกแต่ง
นิตยสาร
ผลิตภัณฑ์
วารสาร
นิทรรศการ
ใบปลิว

องค์ประกอบของกราฟิก
• ตัวอักษร(typographic)
• สัญลักษณ์(symbol)
• ภาพประกอบ(Illustrator)
• ภาพถ่าย(photography)

ความแตกต่างการออกแบบ
เป็นการใช้กระบวนการคิดแบบจินตนาการ อิสระ และสร้างสรรค์การวางแผน เป็นการใช้ความคิดเป็นขั้นตอน ที่จะนำไปสู่รูปแบบของจินตนาการ

กระบวนการออกแบบ
1. พิจารณาเนื้อหา
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน
4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ 1,2,และ 3

องค์ประกอบ ทัศนศิลป์
เส้น
สี
จุด
รูปร่าง
รูปทรง
พื้นผิว
สี

สี หมายถึง แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา ทำให้มองเห็นวัตถุเหล่านั้นเป็นสีต่างๆตามคุณลักษณะของแสงที่สะท้อน

การมิติใช้ในการออกแบบ
• มิติ..สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
• มิติ..สีกลมกลืน/สีตัดกัน
• มิติ..สีมืด/สีสว่าง

เส้น
เส้น เป็นองค์ประกอบที่มีรูปลักษณะเป็นรอยยาวต่อเนื่องกันหน้าที่สำคัญของเส้น คือ การแสดงทิศทางลักษณะของเส้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเส้นตรงและกลุ่มเส้นไม่ตรง

กลุ่มเส้นตรง

เส้นตรงตั้งฉาก ให้ความรู้สึกมั่นคง สง่า
เส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ราบเรียบ
เส้นตรงเฉียง ให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่แน่

กลุ่มเส้นไม่ตรง

เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน
เส้นตรง ให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง
เส้นซิกแซก ให้ความรู้สึกรุนแรง ไม่ไว้ใจ ตื่นเต้น

พื้นผิว
พื้นผิว เป็นองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกสัมผัสด้านนอกสุดของวัตถุสิ่งของ
พื้นผิวมี 2 มิติ ได้แก่
1. มิติพื้นผิวเรียบ/พื้นผิวขรุขระ
2. มิติพื้นผิวด้าน/พื้นผิวมันวาวการ

ใช้พื้นผิว กับการออกแบบ
1. พื้นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกมีระเบียบ จริงจัง
2. พื้นผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกน่ากลัว ลึกลับ
3. พื้นผิวด้าน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ
4. พื้นผิวมันวาว ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รวดเร็ว

จุด
เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กที่สุดทำหน้าที่สำคัญ คือ การแสดงตำแหน่งการวางจุดตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปเรียงไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้ดูเป็นเส้นแต่ ถ้าวางตำแหน่งไว้ใกล้กันเป็นกลุ่มก้อนจะแลดูเป็นรูปร่างรูปทรงรูปร่าง

รูปร่าง
เป็นลักษณะของพื้นที่ภายในที่ถูกล้อมด้วยเส้นเส้นเดียวที่ลากปลายด้านใดด้านหนึ่งมาบรรจบกันหรือบรรจบช่วงใดช่วงหนึ่งของเส้น ส่วนพื้นที่ด้านนอกของรูปร่างเรียกว่า “พื้น”(ground)รูปร่างมีลักษณะเป็น 2 มิติคือความกว้างกับความยาว รูปร่างที่มีขนาดใหญ่สามารถรองรับองค์ประกอบอื่นได้รูปทรงรูปทรงมีลักษณะเหมือนกับรูปร่าง แต่รูปทรงมี 3 มิติ ได้แก่ ความกว้าง ความยาวและความหนาหรือความลึก

การจัดภาพ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่างๆมาเรียบเรียงหรือจัดวางให้ได้ภาพตามที่ต้องการ การจัดภาพจึงเป็นการออกแบบเพื่อการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรม

หลักการออกแบบ
การออกแบบให้บรรลุวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ 2 ประการ คือ หน้าที่(function) ของชิ้นงาน และความสวยงาม(beauty) ของชิ้นงานความสมดุล หมายถึง ความเท่ากัน เสมอกัน เป็นการออกแบบให้วัตถุนั้นๆสามารถทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1. ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้างเท่ากัน(Symmetrical/Formal Balance)
2. ความสมดุลทั้งสองข้างไม่เท่ากัน(Asymmetrical/Informal or Occult Balance)

ความกลมกลืน หมายถึง การประสานกัน หรือเป็นการรวมหน่วยต่างๆ ของส่วนประกอบของการออกแบบให้ดูแลเหมาะสมกลมกลืนเป็นหน่วยเดียวกัน มีหลักดังต่อไปนี้
1. ความกลมกลืนที่ทำให้เส้นไปในทางเดียวกัน
2. ความกลมกลืนกันคล้ายคลึงกัน หรือเท่ากัน
3. ความกลมกลืนของรูปร่างและรูปทรง
4. ความกลมกลืนของพื้นผิว
5. ความกลมกลืนของสี
6. ความกลมกลืนในด้านความคิด

ความแตกต่าง หรือ การตัดกันหมายถึง การออกแบบที่ไม่ให้เกิดการซ้ำซาก โดยจัดส่วนประกอบของการออกแบบ เช่น มีรูปร่าง พื้นผิว สี แตกต่างกันออกไป มีหลายวิธีดังนี้
1. ความแตกต่างในเรื่องเส้น
2. ความแตกต่างด้วยลักษณะพื้นผิว
3. ความแตกต่างในรูปทรงและลักษณะ

การเน้นให้เกิดจุดเด่น หมายถึง การเน้นทำให้เด่นเฉพาะบางแห่งที่ต้องการให้ชวนดูแปลกตา หรือเป็นจุดสนใจและทำให้เกิดความน่าสนใจหลักการเน้น
1.จะเน้นอะไร
2. จะเน้นอย่างไร
3. จะเน้นมากน้อยแค่ไหน
4. จะเน้นที่ตรงไหน

การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก

การออกแบบสื่อ......
การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

"ลักษณะการออกแบบที่ดี"
(Characteristics of Good Design)

1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

"องค์ประกอบของการออกแบบ "

1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

ประเภทวัสดุกราฟิก

ในหนังสือ Audiovisual Materials ซึ่งเขียนโดย Wittich & Schuller ได้แบ่งประเภทวัสดุกราฟิกไว้ดังนี้

1. แผนสถิติ (Graphs) แบ่งออกเป็น
1.1 แผนสถิติแบบเส้น (Line Graphs)
1.2 แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graphs)
1.3 แผนสถิติแบบวงกลม (Circle or Pie Graphs)
1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graphs)
1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (Area and Solid Figure Graphs)
2. แผนภาพ (Diagrams)
3. แผนภูมิ (Charts)
3.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)
3.2 แผนภูมิแบบสายน้ำ (Stream Charts)
3.3 แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts)
3.4 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts)
3.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparision Charts)
3.6 แผนภูมิแบบตาราง (Tabular Charts)
3.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Experience Charts)
3.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Achivement Charts)
4. ภาพโฆษณา (Posters)
5. การ์ตูน (Cartoon)
6. ภาพวาด (Drawing)
7. ภาพถ่าย (Photography)
8. ภาพพิมพ์ (Printing)
9. สัญลักษณ์ (Symbols)

ตัวอย่างสื่อกราฟิก

ตัวอย่างสื่อกราฟิก
แผนภูมิลำดับเรื่อง ใช้อธิบายเรื่องที่มีรายละเอียดเกี่ยวข้องกัน จัดทำให้แยกแผ่นไว้เป็นลำดับ จากไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย ไปจนถึงที่มีรายละเอียดและซับซ้อนมากขึ้น เช่น แผนภูมิแสดงระบบต่างๆ ในร่างกายคนเรา [ แสดงภาพแผนภูมิลำดับเรื่อง แสดงเครื่องมือช่าง ]

กราฟแท่ง เป็นชนิดที่ดูง่ายกว่ากราฟเส้น มักจะแสดงข้อมูลให้เห็นเป็นช่วงๆ เช่น กราฟแท่งแสดงการเพิ่มของประชากรช่วง 5 ปีที่ผ่านมา [ แสดงภาพกราฟิกแท่งแสดงความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมชนิดต่างๆ ]

แผนภูมิอธิบายภาพ ใช้แสดงและบอกรายละเอียดของส่วนต่างๆ ของเนื้อเรื่อง เช่น อธิบายการแต่งเครื่องแบบของนักเรียน การอธิบายกล้องถ่ายภาพ [ แสดงภาพแผนภูมิอธิบายภาพ ]


แผนที่ map เป็นกราฟิกที่ย่อส่วนจากพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้ผู้ใช้แผนที่มองเห็นอาณาเขตที่ ติดต่อกัน เปรียบเทียบความแตกต่างของพื้นที่ได้ แผนที่บางแผ่นทำให้เห็นสภาพสูงต่ำของพื้นดินได้ [ แสดงภาพแผนที่ ]


ลูกโลก globe เป็นกราฟิกแสดงพื้นที่ของโลกเรา การกำหนดรายละเอียดสามารถทำได้ตามความต้องการ เช่น ลูกโลกขนาดเล็กก็แสดงขอบเขตอย่างหยาบสำหรับผู้เรียนที่เริ่มเรียนรู้ [ แสดงภาพลูกโลก 1] [ แสดงภาพลูกโลก 2] ที่มาของภาพ : av instruction 1973

การใช้สี (color)

คิดก่อนว่า อยากให้รูปภาพที่วาดออกสีโทนร้อนหรือโทนเย็น
สีโทนเย็น แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มที่1 เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่
2. กลุ่มที่2 น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน
3. กลุ่มที่3 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่
4. กลุ่มที่4 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน เหลือง

สีโทนร้อน แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่1 เหลือง ส้ม แดง
2. กลุ่มที่2 ส้ม แดง น้ำตาล
3. กลุ่มที่3 แดง น้ำตาล ดำ
4. กลุ่มที่4 เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล ดำ

วรรณะของสี (Tone Color)
1. สีโทนร้อน (สื่อตื่นเต้น)
2. สีโทนเย็น (สบายตา)

เทคนิกการใช้สี
1. สีกลมกลืน
2. สีตัดกัน

ทฤษฎีสี
1. ทฤษฎีใกล้กันกมกลืนกัน (ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน ราบรื่นเป็นพวกเดียวกัน)
2. สีตัดกัน ทฤษฎีห่างกันตัดกัน (งานดูตื่นเต้น ตระหนก รุนแรงหวาดเสียว ไม่เข้ากัน)
3. Hue + White = Tint คือ สีแท้ + สีขาว ใช้ในกรณีที่ต้องการให้งานชิ้นนั้นดูสบายตานุ่มนวล กว้างขวาง และเป็นกันเอง
4. Hue + Black = Shade คือ สีแท้ + สีดำ ใช้ในกรณีที่ต้องการทำให้ชิ้นงานนั้นดูลึกลับน่ากลัว หนักแน่น แคบ

สื่อวัสดุกราฟิก " สีไม้ "

สื่อวัสดุกราฟิก " สีไม้ "

เรื่อง " Differences"

Find the Differents Games.Work with a partner.
One of you is Student A, and the other is Student B.

Student A : Cover picture B
Student B : Cover picture A

Describe your picture to your partner. Try to find the differents. Make a list. Try to find 10 differents.

For examples,

A
1.There is a woman to take a bath.
2.There is a cat on the bed.
3.……………………………………………...................
4…………………………………………......................
5………………………………………….....................
6……………………………………………..................
7……………………………………………..................
8……………………………………………..................
9……………………………………………..................
10……………………………………………...............

B
1.There is a man to take a shower.
2.There is a man on the bed.
3………………………………………………............
4………………………………………………............
5………………………………………………............
6………………………………………………............
7………………………………………………............
8………………………………………………...........
9………………………………………………...........
10……………………………………………............


GrammarQuestion with : What

What are you doing?
What is he / she doing ?
What are you / they doing ?

I am studying now.
He / She is studying now.
We / They are studying now.

Exercise : Work with a partner.Ask and Answer about the picture.

For examples,

A
1.What is she doing in Picture 1 ?
-She is taking a bath.
2……………………………………………………
-...................................................
3…………………………………………….......
-..................................................
4……………………………………………………
-..................................................
5……………………………………………………
-..................................................
6……………………………………………………
-..................................................

B
1.What is he doing in Picture 2 ?
-He is taking a shower.
2………………………………………………………
-.....................................................
3………………………………………………………
-....................................................
4………………………………………………………
-.....................................................
5………………………………………………………
-.....................................................
6……………………………………….....…………
-.....................................................

เจ้าของผลงาน

เจ้าของผลงาน
มัยคิดว่าคนที่เข้ามาเยี่ยมชมใน Blog คงจะได้รับความรู้อย่างที่มัยเคยได้รับจากการเรียนวิชานี้เหมือนกันนะคะ